Mom : คุณแม่จะเคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง ทำอะไรเร็วๆ ไม่ค่อยได้เหมือนแต่ก่อน นั่นเป็นเพราะขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น คุณแม่ปรับเปลี่ยนท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้เหมาะกับสรีระที่เปลี่ยนแปลไป เช่น การยืน การนั่ง และการลุกขึ้นจากท่านอน โดยควรพลิกตัวตะแคงข้างก่อนเสมอ เพื่อให้ง่ายต่อการทรงตัว
Baby : ทารกจะตื่นตัวมากขึ้น รู้สึกและมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อแรงหดรัดตัว การหดรัดตัวของมดลูกนี้ ไม่เป็นอันตรายต่อทารก เนื่องจากมีถุงน้ำคร่ำเป็นเกราะป้องกัน การหายใจของทารกที่เป็นเพียงการซ้อม เปลี่ยนเป็นการหายใจที่มีจังหวะและมีอาการสะอึกเมื่อกลืนน้ำคร่ำเข้าไป
ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์
มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นครั้งแรก คุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกเป็นพักๆ แต่ยังไม่ใช่การเจ็บท้องคลอด เป็นเพียงการเตรียมท่าของทารกให้พร้อมสำหรับการคลอด
เอ็นยึดบริเวณหลัง
ในสัปดาห์นี้ คุณแม่จะมีอาการปวดหลัง เนื่องจากเอ็นยึดและกล้ามเนื้อบริเวณหลังคลายตัว การนั่งในท่าโยคะ คือ เอาฝ่าเท้าชนกัน และมือทั้งสองข้างวางอยู่บริเวณรอบพับที่เข่า ให้หลังตรงชิดฝาจะทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้น
สมองพัฒนา
ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่สัปดาห์นี้มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 40 เซนติเมตร หนักประมาณ 1.1 กิโลกรัมสมองมีการเจริญเติบโต เส้นใยประสาทก็กำลังมีการพัฒนาไปแบบรวดเร็วเหมือนติดจรวดเลยล่ะค่ะ ช่วงนี้คุณแม่จึงต้องบำรุงร่างกายให้มากๆ ทานอาหารที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของสมองด้วยบ้างก็จะดีมากๆ
แหล่งที่มา นิตยสาร : Pregnancy Advisor & Diary