ขนาดของทารกยังเหมือนวุ้นไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 5-7 วัน จะฝังตัวที่ผนังมดลูก (Uterus) ไข่จะเจริญอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้เราจะเรียกตัวอ่อนว่าเอ็มบริโอ (Embryo) ซึ่งจะมีการสร้าง รก (Placenta) และสายสะดือ (Umbilical Cord) เพื่อเป็นทางนำอาหารจากคุณแม่ที่รับประทานเข้าไป แล้วนำไปให้ทารกในครรภ์ ทารกจะอยู่ในถุงน้ำคร่ำ(Amniotic Sac) ซึ่งช่วยปกป้องและกันแรงกระแทกจากภายนอก รวมถึงกันแรงกระแทกจากตัวทารกเองตัว
ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์
สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเริ่มไปปรึกษาแพทย์ และมีการเตรียมตัวสำหรับการฝากครรภ์ หันมาใส่ใจกับการรับประทานอาหารให้มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารหลัก 5 หมู่ พยายามรับประทานให้ครบ เน้น ผัก ผลไม้สด และนม
เตรียมสุขภาพให้พร้อม
คุณควรงดบุหรี่ และแอลกฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีผู้สูบบุหรี่อยู่ใกล้ๆ การรับประทานยาใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงของการเตรียมตัวที่จะมีลูก ที่สำคัญถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็น หรือเป็นโรคร้ายแรงอะไร คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยง ที่อาจเกิดกับการตั้งครรภ์ได้ ถ้าจะให้ดีจูงมือกันกับสามีสุดที่รักไปตรวจพร้อมๆ กันเลยจะดีที่สุด นอกจากนี้คุณควรดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง อย่างน้อย 2 - 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ
หากคุณกำลังเตรียมที่จะมีโซ่ทองคล้องใจระหว่างคุณกับสามีอยู่ละก็ เรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก่อนการตั้งครรภ์ ก็คือ เรื่องของการพากันไปพบแพทย์ เพื่อปรึกษาและตรวจสุขภาพ กับฉีดวัคซีนที่ยังขาดอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของโรค หรืออาการที่จะเกิดแฝงตามมาได้ขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากเรื่องของการตรวจสุขภาพให้พร้อมสมบูรณ์แล้ว การดูแลเรื่องอาหารการกินก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เช่นกันคะ คุณแม่ควรที่จะสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลคุณแม่อยู่ว่า ก่อนตั้งครรภ์รวมถึงตั้งครรภ์แล้ว จะต้องทานอาหารให้เป็นไปในลักษณะใด ถึงจะดีกับร่างกายที่สุด คำแนะนำจากแพทย์ถือเป็นข้อมูลที่จำเป็นและดีต่อตัวคุณแม่และรวมถึงทารกในครรภ์ เนื่องจากการทานอาหารของคุณแม่ จะสัมพันธ์กันกับทารกอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคลอดออกมา ฉะนั้น เรื่องของการเตรียมสุขภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากๆ คะ
แหล่งที่มา นิตยสาร : Pregnancy Advisor & Diary